วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกครั้งที่ 5 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน 2557

บันทึกการเรียน





ภาษาธรรมชาติ  (Whole Language) คือ การเรียนภาษาแบบองค์รวม
Kenneth Goodman เสนอแนวคิด การสอนภาษาแบบธรรมชาติ
ทฤษฎีที่อิทธิพลต่อการสอนแบบธรรมชาติ
Deway >> Piaget >> Vygotsky >> Haliway
- เด็กจะรู้ภาษาจากการลงมือ
- เด็กจะรู้จากกิจกรรม สัมผัส จับต้องได้
- เด็กจะเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม รอบตัว 
        การสอนภาษาธรรมชาติ
- สอนแบบบูรณาการ/องค์รวม
- สอนสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก
- สอนสิ่งใกล้ตัวเด็กและชีวิตประจำวัน
- สอนแทรกฝึกหัดทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียน ไปกับกิจกรรม
- ไม่เข้มงวดกับการท่องสะกด
- ไม่บังคับให้เขียน
          ธรรมชาติเด็กปฐมวัย
- ชอบเลียนแบบคนรอบข้าง
- ชอบเลียนรู้สิ่งใหม่ๆ
- ชอบซักถาม
- ชอบสนใจสิ่งรอบๆตัว
       หลักการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
- การจัดสภาพแวดล้อม.     - การสื่อสารที่มีความหมาย.  - เป็นแบบอย่างที่ดี
- การตั้งความหวังกับเด็ก.   - การคาดคะเน.                 - การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
- ยอมรับนับถือ.                - สร้างความเชื่อมั่น
            บทบาทครู
- ครูคาดหวังแต่ละคนแตกต่างกัน
- ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุน การอ่าน การเขียน
- ควรยอมรับกับไม่ครบถ้วน
- สร้างความสนใจคำและสิ่งพิมพ์

            ผู้ที่ถ่ายทอดความรู้ = ครูโบราณ
                     |||||||||||||||||||||
          ผู้อำนวยความสะดวก = ครูยุคใหม่
                     |||||||||||||||||||||
       เรียนไปพร้อมกับเด็ก = ครูแบบธรรมชาติ

            ภาพกิจกรรม สรุป Mind Mapping ภาษาธรรมชาติ.             




วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน 2557

บันทึกการเรียน
        นำเสนองาน หัวข้อ ฟัง พูด อ่าน เขียน ของกลุ่ม 101,102.       
การฟัง คือ การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน และสามารถตีความ จับความหมาย ที่ได้ยินเสียงขึ้นอยู่กับสติปัญญา

การพูด คือ  การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกิริยาอาการ  เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด  ความรู้  ประสบการณ์  
ตลอดจนความต้องการของผู้พูดให้ผู้ฟังได้รับรู้ และเกิดการตอบสนอง
เด็กอนุบาล 1 พูดติดอ่าง ย้ำคำพูดตัวเอง
เด็กอนุบาล 2 พูดเป็นประโยคสั้นๆ
เด็กอนุบาล 3 ประโยคจะสมบูรณ์แบบ เริ่มนำเอาวิดิทัศน์มาใช้ในการพูด
การอ่าน คือ การรับรู้ความหมายของคำ  สัญลักษณ์  ความรู้  ความคิด  ความรู้สึกและจินตนาการของผู้เขียน
การอ่านของเด็กเริ่มตั้งแต่วัย ทารก ก่อน 10 เดือน  เด็กเริ่มปรับหน่วยเสียง วัยกระเตาะแตก 1-2 ปี
ส่งเสริมการอ่าน
- นิทาน
- กลอน 
- ร้องเพลง
การเขียน คือ การเขียนถ่ายทอดเรื่องราวความคิดออกมาอย่างมีความหมาย
    การเขียน แบ่งออก  2 อย่าง
อายุ 2 - 4 ปี เขียนสะเปาะสะปะ
อายุ 4 - 7 ปี การเขียนเริ่มมีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น
      การพัฒนาการเขียน
- ขีดเขียน
- ก - ฮ
        อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการเขียน
- มือ 
- ตา
- สติปัญญา
- สิ่งแวดล้อม
          กิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียน
- กิจกรรมภายในครอบครัว
- กิจกรรมจากทางโรงเรียน เช่น กิจกรรมศิลปะสร้างรรค์

สิ่งที่ได้รับและสามารถนำเอาไปใช้ในอนาคต
 สามารถรู้และเข้าใจต่อเด็กในแต่ละวัยว่ามีความสามารถในการเรียนรู้อย่างไร เรารู้จักสอนได้อย่างถูกวิธีและตามวัยที่พอเหมาะสำหรับตัวเด็ก



บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 ประจำวันพฤหัสบดี ที่ 11 กันยายน 2557




บันทึกการเรียน
แนวคิดนักการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาของเด็กปฐมวัย

1.แนวคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยม
 ทฤษฎี ของ Skinner เชื่อว่า สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาของเด็กปฐมวัย
 ทฤษฎี ของ John B Watson เป็น ทฤษฎี การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
   นักพฤติกรรมนิยม เชื่อว่า
- ภาษาเป็นการกระทำของมนุษย์
- การเรียนภาษาเป็นผลจากการปรับพฤติกรรม
- เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้
- เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรม
2.แนวคิดกลุ่มพัฒนาทางสติปัญญา
ทฤษฎี ของ Vygotsky เชื่อว่า เด็กเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก   เป็นคนรัสเซีย
ทฤษฎี ของ Piaget  เชื่อว่า  เด็กเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก เหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงการยอมรับในทฤษฎี 
        2 กระบวนการ
- การดูดซึม Assimiiation เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง
- ปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับความรู้ใหม่ Accomodation
        ขั้นประสาทสัมผัส
- ขั้นแรกของเด็ก (แรกเกิด - 2 ขวบ) ฟัง สัมผัส ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส
- ขั้น 2 ขั้นเตรียมการความคิดมีเหตุผล (2 - 4 ขวบ) เริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์
- ขั้น (4 - 7 ขวบ) Intuitire Period สื่อสารกับคนรอบข้าง
3.แนวคิดกลุ่มเชื่อเรื่องความพร้อมของร่างกาย
ทฤษฎี ของ Arnold Gesell เชื่อว่า วุฒิภาวะเป็นตัวกำหนด
4.แนวคิดกลุ่มเชื่อว่าภาษาติดตัวเด็กมาตั้งแต่เกิด
ทฤษฎี ของ Naom Chomsky เชื่อว่า เด็กเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
ทฤษฎี ของ O Hobort Mowrer ทฤษฎีความพึงพอใจ
           จิตวิทยาการเรียนรู้
- ความพร้อม
- ความแตกต่างระหว่างบุคคล
- การจำ
- การให้แรงเสริม เช่น การชม
สอนร้องเพลง 10 เพลง 
- เพลง แปรงฟัน         - เพลง อาบน้ำ        
- เพลง ล้างมือ           - เพลง เมื่อพบกัน
- เพลง พี่น้องกัน         - เพลง ตาดูหูฟัง
- เพลง ฝึกกายบริหาร  - เพลง มาโรงเรียน
- เพลง ใครเอ่ย          - เพลง กินผักกัน


            ภาพกิจกรรมการสอนร้องเพลง.           

   

         ภาพกิจกรรมวาดสิ่งที่รักที่สุดในชีวิตพร้อมพูดหน้าชั้น.              

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 ประจำวันที่ 4 กันยายน 2557


  บันทึกการเรียน




      ภาษา หมายถึง เครื่องมือในการสื่อสารเพื่อให้เข้าใจความหมายและความต้องการของแต่ละบุคคลด้วยวิธีต่างๆ

        
    
องค์ประกอบของภาษา 
  ฟัง พูด อ่าน เขียน
1.Phonology คือ ระบบเสียงภาษาที่เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
2.Somantic คือ ความหมายและคำศัพท์
3.Syntax คือ ระบบไวยกรณ์ หรือ การเรียงรูปประโยค
4.Pragmatic คือ ระบบที่นำไปใช้ให้ถูกสถานการณ์ และ กาลเทศะ